แพทย์สตรีปฏิบัติการดีเด่น ด้านสู้โควิด 2564
แพทย์สตรีปฏิบัติการดีเด่น ด้านสู้โควิด 2564
6357Visitors | [2021-11-13]
แพทย์สตรีปฏิบัติการดีเด่น ด้านสู้โควิด 2564
|
|
|
อายุรแพทย์ สาขาโรคติดเชื้อ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"พลังใจนำทีมร่วมรับมือผู้ป่วยโควิด สุราษฎร์ธานี" ผลงานดีเด่น ระดับเขตสุขภาพที่ ๑๑
|
จากการเตรียมความพร้อมในด้านบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ป้องกันและเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ใน การดูแลผู้ป่วยวิกฤติ COVID-19 รายแรกของ จ.สุราษฎร์ธานี มีภาวะไตวายเฉียบพลันและระบบทางเดิน หายใจล้มเหลว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ จนผู้ป่วยอาการดีขึ้น สามารถกลับบ้านได้
|
๒. พญ. ณัฐกานต์ ชื่นชม
|
|
อายุรแพทย์ สาขาโรคติดเชื้อ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลแม่สอด
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"อายุรแพทย์โรคติดเชื้อชายแดนไทย-เมียนมาต้องเป็นหมอ ระบาดวิทยาด้วย"
|
โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำเกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน หัด พิษสุนัขบ้า โรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคอหิวาต์ตกโรค โรคแอนแทรกซ์ โรคที่นำโดยยุง เช่น มาลาเรีย ชิคุนกุนย่า ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู และล่าสุดโควิด-๑๙ ที่สถานการณ์หนักหนามากๆ เราต้องเตรียมพร้อม รับมือเสมอ ผลงานความสำเร็จในการควบคุมโรคขอยกให้กับทีมงานสาธารณสุขชายแดนทุกคนที่อุตสาหะ เสียสละ และกล้าหาญเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยค่ะ
|
๓. พญ. ดลจรัส ทิพญ์มโนสิงห์
|
|
กุมารแพทย์ สาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ กรุงเทพมหานคร
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขดำเนินมาตรการควบคุมป้องกัน การระบาดทั้งเชิงรับและเชิงรุก"
|
หัวหน้าทีม SRRT ของ ศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๐ รสสุคนธ์ มโนชญากร เป็นศูนย์บริการ สาธารณสุขเพียงแห่งเดียวของพื้นที่เขตดอนเมือง มีประชากรจำนวนมาก ตั้งแต่เริ่มต้นการระบาด ของโควิด-๑๙ จัดเตรียมมาตรการทั้งภายในและภายนอกศูนย์เพื่อรองรับการระบาดของโรคโควิด-๑๙ รวมทั้งการให้ความรู้ ออกบริการเชิงรุกแก่โรงเรียนและสถานประกอบการในพื้นที่
|
๔. พญ. นุชศรา อามีณทรานนท์
|
|
ตจแพทย์
นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"Case manager ดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 EOC จ.นราธิวาส"
|
วางรูปแบบ Buddy-Budder hospital Model เพื่อจับคู่โรงพยาบาลที่พื้นที่ใกล้กัน ในการรองรับผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ที่ไม่มีอาการ/มีอาการเล็กน้อย admit ในโรงพยาบาลชุมชนช่วงที่ไม่มี โรงพยาบาลสนาม และต่อมาเมื่อมีโรงพยาบาลสนาม แผนนี้ได้ปรับใช้ในการรองรับผู้ป่วยที่ไม่เข้าเกณฑ์ โรงพยาบาลสนาม หรือระดับ Moderate ข้อดี คือ ลดการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลทั่วไป ทำให้ capacity เตียง สามารถรองรับกลุ่มอาการรุนแรงทั้งจากผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ได้มากขึ้น รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เครื่องมือและสถานที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ ของ โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป
|
๕. พญ. ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ
|
|
จิตแพทย์ กลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"จิตแพทย์ผู้ดูแลกายและใจผู้ป่วยและบุคลากรในภาวะวิกฤติจาก COVID-19 พร้อมนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาประยุกต์ในงานรักษา ส่งเสริมและป้องกัน"
|
►ด้านบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ ออกแบบการทำงานและการให้บริการสุขภาพจิตและ ยาเสพติดทางไกล (telemedicine) ร่วมกับครอบครัวและชุมชน จัดบริการงานสุขภาพจิตในหอผู้ป่วย cohort ward และโรงพยาบาลสนาม จัดบริการและร่วมมือกับชุมชนที่มีผู้ติดเชื้อ เพื่อสร้างความเข้าใจ เพิ่มความร่วมมือและลดตราบาปจากการเจ็บป่วย จัดบริการดูแลจิตใจบุคลากร เพื่อลดความเครียดและ ภาวะหมดไฟ (burn out)
►ด้านพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำนวัตกรรมการพิมพ์ ๓ มิติมาใช้ในวิกฤติการระบาด COVID-19 เพื่อลดต้นทุนการซื้อ Personal Protective Equipment และพึ่งพาตนเอง ได้แก่ นวัตกรรมการพิมพ์ กระจังหน้า (Face Shield) แว่นตากันน้ำ (Goggle) หน้ากากกันน้ำ (water proved facial mask) VDO Larygoscope จากเครื่องพิมพ์ ๓ มิต
|
๖. พญ. พรวิมล ลี้ทอง
|
|
อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ กลุ่มงานอายุรกรรม นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"“ผู้บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Commander) ในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จังหวัดสมุทรปราการ"
|
อายุรแพทย์โรคติดเชื้อเพียงคนเดียวในจังหวัด ผู้เป็นแกนนำหลักในการเตรียมความพร้อมด้าน ต่างๆ เพื่อรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) มีความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างมากที่จะทำให้ทุกคนปลอดภัยและผ่านพ้นวิกฤตของโรคระบาดนี้ไปให้ได้ โดยเร็วที่สุด ด้วยคุณลักษณะเฉพาะตัวดังกล่าวทำให้เป็นศูนย์รวมความเชื่อมั่นของบุคลากรในโรงพยาบาล รวมทั้งผู้ป่วยที่เคยมารับบริการได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากบุคลากรทุกระดับในการที่จะร่วมกัน ทำภารกิจนี้ให้สำเร็จลุล่วง เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีความปลอดภัยมากที่สุด
ในการจัดเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ นั้น ได้ใช้ความรู้และใช้ประสบการณ์มาวิเคราะห์และ วางแผนทั้งในด้านของอาคาร/สถานที่ ด้านอัตรากำลังของบุคลากรแต่ละประเภท ด้านทรัพยากรต่างๆ ทั้งทาง Clinic และ Non Clinic อีกทั้งได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและได้กำหนดแผนรองรับ เหตุการณ์ต่างๆ ไว้ตามระดับความรุนแรง มีการปรับปรุง/พัฒนาและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน
|
๗. พญ. มรกต ภัทรพงศ์สินธุ์
|
|
อายุรแพทย์ กลุ่มงานอายุรกรรม นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"หัวหน้าทีมรักษาผู้ป่วยโควิด(Miss Corona) โรงพยาบาลชัยภูมิ"
|
อายุรแพทย์ผู้จัดระบบการดูแลและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโควิดในจังหวัดชัยภูมิ ได้จัดแบ่ง อายุรแพทย์ออกเป็น ๒ ทีม สำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด และ ผู้ป่วยที่ไม่ใช่โควิด เป็นที่ปรึกษาหลักสำหรับ อายุรแพทย์และแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชัยภูมิรับดูแลผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรงและ ไม่รุนแรง รักษาผู้ป่วยโควิดในจังหวัดชัยภูมิ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๖๔ จำนวนสูงสุดที่รับเข้าไว้ ในโรงพยาบาล ๙๘ ราย
|
๘.พญ. ลลิดา วีระวิทยานันต์
|
|
จักษุแพทย์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ กรุงเทพมหานคร
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"ผู้นำขับเคลื่อนโครงการบางโคล่โมเดลบันได ๔ ขั้น พิชิตโควิด ร่วมกัน ระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๘ สำนักงานเขตบางคอแหลม กับผู้นำ ๖ ชุมชน"
|
หัวหน้าทีม การสอบสวนและควบคุมโรคใน setting ที่มีการระบาดแคมป์คนงานก่อสร้าง, โรงงาน, สถานประกอบการ , ตลาดและชุมชน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดมาตรการ Bubble and seal ตรวจค้นหาผู้ป่วยในชุมชน ในกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มคนที่เปราะบางที่ไม่มีโอกาสเข้ารับการตรวจ เช่น ผู้ป่วยติดบ้าน , ผู้ป่วยพิการ , ผู้ป่วยทารกและเด็กเล็ก ควบคุมดูแลการกักตัวผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงสูง (Home Quarantine) ดูแลผู้ป่วยโควิด-๑๙ ที่รักษาตัวเองอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) เป็นเวลา ๑๔ วันเพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อ ซึ่งมีปริมาณงานราว ๓,๔๐๐ ราย ในพื้นที่รับผิดชอบ การฉีดวัคซีนให้กลุ่มจำเพาะเจาะจง เช่น กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป, กลุ่มที่มีโรค ๗ กลุ่ม เสี่ยง, กลุ่มคนท้องที่ติดค้างอยู่ตามชุมชน และไม่สามารถเข้าถึงบริการวัคซีนโดยทั่วไปได้ , กลุ่มผู้พิการ , กลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
|
๙. พญ. สราพร มัทยาท
|
|
อายุรแพทย์โรคไต รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"หัวหน้าทีมปฏิบัติ (Operation Section Chief)ในคณะกรรมการศูนย์ ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา"
|
รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการเตียงภายในโรงพยาบาล ประสานระดับจังหวัด เขต และผู้โดยสาร มาจากสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นหัวหน้าทีมของคณะกรรมการ EOC ระดับจังหวัดของสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด เป็นหัวหน้าทีมรับผิดชอบการดูแลโรงพยาบาลสนาม ๒ แห่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา และจัดระบบบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาภาคสนามมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
|
๑๐. รศ.พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์
|
|
กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"อาจารย์แพทย์ผู้ดูแลควบคุมป้องกัน เผยแพร่ความรู้โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙"
|
ร่วมกำหนดมาตรการ แนวทางป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งโรงพยาบาลสนาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดมาตรการและคำแนะนำ สำหรับนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร ในช่วงที่มีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) รวมทั้งแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) เป็นคณะทำงานด้านการประกันคุณภาพวัคซีนและเฝ้าระวัง ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน AEFI ของจังหวัดปทุมธานี
|
๑๑. พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์
|
|
จิตแพทย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพสำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"ผู้ช่วยโฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (ศบค.)"
|
การทำงานของ ศบค.เป็นการบริหารสถานการณ์ท่ามกลางความขัดแย้ง การเผชิญหน้ากับ โรคระบาดที่ไม่เคยมีมาก่อน องค์ความรู้ทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุขและการบริหารจัดการ สถานการณ์ต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับ เกิดการเรียนรู้ใหม่ ซึ่งองค์ความรู้เดิมบางอย่างอาจไม่สามารถ นำมาใช้ได้ การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดให้พอดีกับการผ่อนคลายมาตรการที่เหมาะสมเพื่อ ให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้ ภาคเศรษฐกิจสังคมยังคงขับเคลื่อนไปได้ เป็นเรื่องยากลำบาก การตัดสินใจซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบหลายฝ่ายจึงนำไปสู่ความขัดแย้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การสื่อสารจึงเป็น สิ่งจำเป็นที่จะช่วยประคับประคองให้ก้าวไปด้วยกันได้
โฆษกต้องเป็น anger container การฟังเป็นสิ่งสำคัญมาก การจัดการความขัดแย้งเป็นคุณสมบัติ ที่สำคัญ และต้องตรวจสอบตัวเองเมื่อหมดหน้าที่ในแต่ละวัน
|
๑๒. รศ. พญ โอสรี อัครบวร
|
|
ศัลยแพทย์ หน่วยศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผลงานเด่นในการปฏิบัติการด้านสู้โควิด
"แพทย์ดีเด่นบุษราคัมล้อมเพชร"
|
แพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 โรงพยาบาลบุษราคัม ผู้ดูแลผู้ป่วยด้วยจิต กาย ใจ ทั้งหมดที่มีเรื่องราวดีๆ ของผู้ที่มารวมกัน หมุนเวียนกัน ความเมตตาและความเพียรของเราจะทำให้ เมืองที่เหินห่างกลับมาใกล้ชิดกันอีกครั้ง การเชื่อมโยงของเราอาจจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็น ความพยายามระดับมนุษย์ ที่ยังเมตตากันเสมอ เมตตามากมายไม่มีประมาณ ภารกิจชีวิตยังดำเนินไป การทำงานแบบลืมความเหน็ดเหนื่อยกันทุกวัน ด้วยการแบ่งปันและปรีดา
|
ดาวโหลดไฟล์ข้อมูลได้ที่ Download