แพทย์สตรีตัวอย่างประจำปี 2555( ดร.แพทย์หญิงเพ็ญแข ลิ่มศิลา ) แพทย์สตรีตัวอย่างประจำปี 2555( ดร.แพทย์หญิงเพ็ญแข ลิ่มศิลา )
12786Visitors | [0000-00-00] 

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แพทย์หญิงเพ็ญแข  ลิ่มศิลา

 

แพทย์สตรีตัวอย่างประจำปี ๒๕๕๕
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แพทย์หญิงเพ็ญแข  ลิ่มศิลา
เกิด : วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ   ๗๕ ปี 
ภูมิลำเนา : กรุงเทพฯ
ครอบครัว   สามี : ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ธีระ  ลิ่มศิลา
อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช      : อดีตประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
บุตร : นายทรรศฤกษ์ ลิ่มศิลา   : Professional Musician วิชาเอกกลอง   Berkley College of Music, Boston, MA, USA
: อาจารย์พิเศษภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
: ดนตรีบำบัด โรงพยาบาลสมิตติเวขศรีนครินทร์ 
 :   มือกลองวงอพาร์ตเม้นท์คุณป้า
: อาจารย์สอนกลอง New Frontier จามจุรีสแควร์
การศึกษา : มัธยมศึกษาตอนต้น เซนต์โยเซฟคอนแวนต์
: มัธยมศึกษาตอนปลาย  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท
: อุดมศึกษา เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาบัตรและวุฒิบัตร
-  แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ๒๕๐๕
-  ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก ๒๕๑๑
   สาขาจิตเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล
-  ฝึกอบรม “Neuropsychiatry” The National Children Hospital, ๒๕๑๓
    Tokyo, Japan
-  หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ๒๕๑๘
    สาขาจิตเวชศาสตร์
-  ปริญญามหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาจิตเวชเด็ก ๒๕๑๙
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
-  ประกาศนียบัตรการบริหารโรงพยาบาลจากคณะแพทยศาสตร์ ๒๕๒๘
    โรงพยาบาลรามาธิบดี
-  ประกาศนียบัตรหลักสูตรแพทยศาสตร์ศึกษา ๒๕๒๘
    คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-  เกียรติบัตรสมาชิกราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ๒๕๒๙
-  หนังสืออนุมัติบัตรเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ        ๒๕๓๒
เวชกรรม สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
- ประกาศนียบัตรหลักสูตรการบริหารโรงพยาบาลระดับผู้อำนวยการ ๒๕๓๓
โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กรมการแพทย์ โดยความร่วมมือของ 
ม.กาลีลี และรัฐบาลอิสราเอล
-  ศาสตราจารย์พิเศษสาขาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ๒๕๓๓
มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติการรับราชการ
๑ เมษายน ๒๕๐๖ แพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลเด็ก กรมการแพทย์   กระทรวงสาธารณสุข
๑ เมษายน ๒๕๐๗ นายแพทย์โท โรงพยาบาลร้อยเอ็ด กรมการแพทย์   กระทรวงสาธารณสุข
๑ มิถุนายน ๒๕๑๐ นายแพทย์โท กองโรงพยาบาลโรคจิต กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
๑ ตุลาคม ๒๕๑๐                          นายแพทย์โท -นายแพทย์เอก โรงพยาบาลสำโรง   จังหวัดสมุทรปราการ
กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข
๙ ตุลาคม ๒๕๑๘ นายแพทย์ ๖ - นายแพทย์ ๗   ฝ่ายจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ (เดิมโรงพยาบาลสำโรง)    จังหวัดสมุทรปราการ
๗ สิงหาคม ๒๕๒๔ นายแพทย์ ๘ ว. ฝ่ายจิตเวชเด็ก โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
๑ ตุลาคม ๒๕๓๔ นายแพทย์ ๙ ว. กองสุขภาพจิต  รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๕ นายแพทย์ ๑๐ ว. กองสุขภาพจิต รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
๑๖ กันยายน ๒๕๔๑ นายแพทย์ ๑๑ วช. ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช  ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
๑.ที่ปรึกษาโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
๒.อนุกรรมการหลักสูตรจิตแพทยศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
๓.ผู้อำนวยการศูนย์เด็กพิเศษโรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์
๔.กรรมการศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
๕.กรรมการดำเนินการจัดการศึกษาการวิจัยและติดตามผลนิสิตออทิสติก ในโครงการวิชาการและวิจัยต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
๖.กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะกิจ สาขาแพทยศาสตร์ สำนักงาน ก.พ. 
คติประจำตัวในการทำงาน  :    “จงเอาใจเขามาใส่ใจเรา”
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุด
พ.ศ. ๒๕๔๐ มหาวชิรมงกุฎ
พ.ศ. ๒๕๔๑ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
เกียรติยศ รางวัลและ ความดีความชอบที่ได้รับ
๑.  กรมการแพทย์อนุมัติให้ปฏิบัติงานพิเศษ ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัฒนา พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๙
๒.  มูลนิธิศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน  แสงสิงแก้ว ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สำหรับผู้ปฏิบัติต่องานสุขภาพจิตดีเด่น สาขากุมารจิตเวชประจำปี ๒๕๓๒
๓.  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งแต่วันที่ ๒๘  มีนาคม ๒๕๓๓ เป็นต้นไป
๔.  สมาคมศิษย์เซนต์โยเซฟ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบโล่พระราชทานเครื่องหมายประกาศเกียรติคุณ จากสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี “ศิษย์เซนต์โยเซฟตัวอย่าง” เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๓๓
๕.  ผลงานของโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ เรื่องโครงการส่งเด็กที่ป่วยทางจิตเวชเข้าร่วมเรียนในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเลือกเป็นผลงานดีเด่นของ   กรมสุขภาพจิต
๖.  แพทย์ดีเด่นของแพทยสภา ประจำปี ๒๕๔๑
๗.  รางวัลปาฐกถา ศาสตราจารย์นายแพทย์ประสงค์ ตู้จินดา ๒๕๔๓
๘.  ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๘
๙.  กุมารแพทย์อาวุโสดีเด่น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ครบ ๕๐  ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
ผลงานเด่น
๑.  เป็นคนแรกในวงการจิตเวชของประเทศไทยที่ริเริ่มวางแผนและดำเนินการบริการ ด้านเวชกรรมสาขาจิตเวช ในการตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ป่วยเด็กออทิสติกอย่างครบวงจร โดยใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้และการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ป่วยออทิสติกกว่า ๒,๐๐๐ คน อย่างจริงจังเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ได้เป็นผลสำเร็จ จนเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ทั้งในและนานาชาติ จัดโครงการให้โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ได้เป็นสถาบันสมทบของคณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งในประเทศไทย โดยการยอมรับจากแพทยสภา
๒.  เป็นผู้ริเริ่มสร้างโปรแกรมเกี่ยวกับ กระบวนการบำบัดรักษาเด็กออทิสติก ได้แก่พัฒนาการบำบัด   การฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยกิจกรรมต่าง ๆ  พฤติกรรมบำบัดกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการศึกษาพิเศษ การจัดอบรมกลุ่มผู้ปกครองเพื่อให้ช่วยร่วมบำบัดรักษาเด็กออทิสติก ตั้งแต่เบื้องต้นจนจบรายการ ทำให้การบำบัดรักษาเด็กออทิสติกของโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์เป็นที่ยอมรับแพร่หลายและได้ใช้เป็นแบบอย่างของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ ได้มีแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากต่างประเทศสนใจมาดูงานที่โรงพยาบาลนี้ เช่น Dr. Inge Fowie จาก Toronto U. Canada เคยขออนุญาตแปลบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษเพื่อแจกจ่ายแก่นักศึกษาที่ Dr. Inge Fowie สอน
๓.  ศึกษาวิจัยเด็กออทิสติก จำนวน ๘๓๑ คน ที่ให้การรักษาด้วยการให้ยา และบำบัดรักษาตามอาการ  ได้รายงานผลการศึกษาในที่ประชุมที่ Helsinki ประเทศฟินแลนด์ เป็นที่สนใจของผู้เข้าร่วมประชุมทั่วโลก
๔.  รับผิดชอบโครงการความร่วมมือกับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดชั้นเรียนการศึกษาพิเศษ สำหรับเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาทางจิตเวช รวมทั้งเด็กออทิสติกที่มีข้อบ่งชี้ที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลและยังไม่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนเดิม
๕.  รับผิดชอบโครงการความร่วมมือทางวิชาการและ การวิจัยระยะ 6 ปี เรื่องโครงการการศึกษาพิเศษระหว่างโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ร่วมกับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
ครั้งที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๓๔-๒๕๓๙
  ครั้งที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๐-๒๕๔๕ 
๗.  รับผิดชอบโครงการศึกษาวิจัยร่วมกับฝ่ายแนะแนวโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง “โรคสมาธิสั้น”
๘.  เป็นหัวหน้าโครงการและดำเนินการตรวจวินิจฉัย วิเคราะห์ผลโดยใช้เครื่องมือตรวจพิเศษ คือการตรวจคลื่นสมองด้วยไฟฟ้า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ จนถึง ปัจจุบัน และเริ่มดำเนินการตรวจ Brain Mapping ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๙  จนถึง ปัจจุบัน พร้อมทั้งได้เตรียมจิตแพทย์ ในโรงพยาบาลที่จะมาดำเนินการต่อ  
๙.  ดำเนินการจัดหาเครื่องมือ Neuro-Biofeedback โดยขอบริจาค จาก “กิฟฟารีน” บริษัท สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัย และการให้บริการโดยการใช้เครื่องมือนี้ร่วมในการรักษาโรคจิตเวชในเด็ก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ 
๑๐.  มีบทบาทสำคัญด้านการดูแลเด็กออทิสติกภายใต้โครงการต่างๆหลายโครงการเช่น 
      ๑.  โครงการการจัดฝึกอบรมกลุ่มผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่มาขอรับการตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบัน 
      ๒.  โครงการจัดอบรมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เรื่องพัฒนาการการบำบัดเด็กออทิสติก ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน
๓.  โครงการจัดอบรมผู้ปกครองของเด็กออทิสติก เพื่อให้ช่วยเหลือเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๗ จนถึงปัจจุบัน
๔.  โครงการจัดอบรมครู ของโรงเรียนที่สามารถรับเด็กออทิสติก เข้าเรียนร่วม เพื่อให้มีความรู้ในเรื่องเด็กออทิสติก เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘  จนถึงปัจจุบัน
๕.  โครงการจัดส่งคณะแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ไปเป็นวิทยากรและสอนสาธิตในด้านพัฒนาการบำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กออทิสติก ให้แก่พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข และทบวงมหาวิทยาลัย  
๑๑.  ดำเนินการพัฒนาวิชาการและมาตรฐานบริการของโรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ จนปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลได้เป็นสถาบันสมทบในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์ของหลายสถาบันได้แก่
๑.  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล- สาขากุมารเวชศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ (ตั้งแต่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ )
๒.  โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา - แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ (ตั้งแต่ ๑๖ กันยายน ๒๕๒๕ )
๓.  โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า-แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ (ตั้งแต่ ๑๓ มกราคม ๒๕๒๖)
๔.  โรงพยาบาลศรีธัญญา  - แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๒)
๕.  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๒  )
๖.  คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  - แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ ปีที่ ๓ (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๓ )
๗. คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น  - แพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ ปีที่ ๓ (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐ )
๑๒.   จัดอบรมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เรื่องพัฒนาการบำบัดเด็กออทิสติก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ จนถึงปัจจุบัน
๑๓.   จัดอบรมครู ของโรงเรียนที่สามารถรับเด็กออทิสติกเข้าเรียนร่วม เพื่อให้มีความรู้ในเรื่องเด็กออทิสติก เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘
๑๔.   จัดอบรมผู้ปกครองของเด็กออทิสติก เพื่อให้ช่วยเหลือเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗  จนถึงปัจจุบัน
กรรมการ
๑. กรรมการจัดทำหลักสูตร การฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชและจิตเวชเด็กของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.๒๕๓๘  ถึงปัจจุบัน)
๒. กรรมการอำนวยการของสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.๒๕๓๑-๒๕๓๒)
๓. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำปรึกษาแนะนำ คณะกรรมการโรงเรียนเอกชน กลุ่ม ๓๕กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.๒๕๓๒)
๔. กรรมการกลั่นกรองเอกสารและผลงานทางวิชาการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ.๒๕๓๓ ถึงปัจจุบัน)
๕. กรรมการราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๙  และ พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๕)
๖. กรรมการพิจารณากลั่นกรองผลงานทางวิชาการเฉพาะสาขาของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด้านจิตเวช (พ.ศ.๒๕๓๙ ถึงปัจจุบัน)
๗. กรรมการสอบสัมภาษณ์ เพื่อคัดเลือกนักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พ.ศ.๒๕๓๙  ถึงปัจจุบัน)
ที่ปรึกษา คณะทำงาน อนุกรรมการและผู้ประสานงาน
๑. ที่ปรึกษาเฉพาะโรคจิตเวชเด็ก ของโรงพยาบาลโรงงานยาสูบ (พ.ศ. ๒๕๒๗ ถึงปัจจุบัน)
๒. อนุกรรมการการยกร่างจัดตั้งวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ.๒๕๓๒)
๓. อนุกรรมการโครงการป้องกันและควบคุมความพิการแต่กำเนิดและโครงการโรคลมชัก  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ.๒๕๓๒)
๔. อนุกรรมการโครงการควบคุมและป้องกันความพิการในเด็ก ทางกาย หู ตา และสติปัญญา กรมการแพทย์ ภายใต้การช่วยเหลือ UNICEF (พ.ศ.๒๕๓๒)
๕. อนุกรรมการฝึกอบรม และสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (พ.ศ.๒๕๓๕  ถึงปัจจุบัน)
๖. อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน อ.ก.พ. กรมสุขภาพจิต ด้านการบริหารและการจัดการ (พ.ศ.๒๕๓๙ ถึงปัจจุบัน)
๗. คณะทำงานสาขาโรคจิตเวช (เภสัชบำบัด) ซึ่งมีหน้าที่จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม และดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ (พ.ศ.๒๕๓๒)
๘.  คณะทำงานจัดทำเกณฑ์มาตรฐานงานบริการทางการแพทย์ (พ.ศ.๒๕๓๔)
๙.  คณะทำงาน จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพจิตสำหรับเด็ก วัยรุ่น สตรี และครอบครัว ตามแผนพัฒนาสาธารณสุข ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๘  (พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๔)
๑๐. คณะทำงานพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ สาขาจิตเวชศาสตร์ (พ.ศ.๒๕๔๑)
งานระดับนานาชาติ
๑. ได้รับเชิญเป็น Co-chairman ใน Topic of Learning Strategies, Disabilities and Behavior Problems ใน 6th ASEAN FORUM for Child and Adolescent Psychiatry ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อ ๑ เมษายน ๒๕๓๒
๒. บรรยายเรื่อง “Psychogenic Vomiting ๑๙๗๖-๑๙๘๑ Follow up to Feb. ๑๙๘๙” ในการประชุม 6th ASEAN FORUM for Child and Adolescent Psychiatry ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๒
๓. ได้รับเชิญเป็น Member ของ The National Autistic Society, London และ Autism Research Unit Sunderland Polytechnic ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๐
๔. ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “Autism in Thailand” ที่ Royal Children’s Hospital. Melbourne, Australia เมื่อ ๒๒ เมษายน ๒๕๓๓
๕. ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “Management of severe self injurious autism in Thailand” ที่ The Training Resource Unit West Ryde, Sidney, Australia. เมื่อ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๔
๖. ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “Autist Artist” ที่ Vern-Barnett School of Autistic Children, Forestoille NSW, Sydney Australia เมื่อ ๖ พฤษภาคม ๒๕๓๔
๗. ได้รับเชิญไปประชุม Fort International Conference on Innovations in Community Psychiatry และดูงานเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการ ณ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๘ มีนาคม  ๒๕๓๗
๘. ไปร่วมสัมมนาเรื่อง “Topographic Mapping on EEG” ณ ประเทศสหรัฐอเมริการ ระหว่างวันที่ ๒๗มีนาคม ถึง ๗ เมษายน ๒๕๓๘
๙.  ได้รับเชิญไปบรรยายทางวิชาการเกี่ยวกับทางจิตเวชเด็กของประเทศไทยและปรึกษาหารือเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือทางด้านจิตเวชเด็กและการวิจัย ระหว่างวันที่ ๓-๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙    ณ ประเทศออสเตรเลีย
๑๐. ได้รับเชิญไปบรรยายใน Symposium : 10th Word Congress of IASID เรื่อง Medical Intervention in Autism ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๘-๑๓  กรกฎาคม ๒๕๓๙  ณ ประเทศฟินแลนด์
๑๑. ได้รับอนุมัติจากสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เดินทางไปเจรจาความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนางานสุขภาพจิต และการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสุขภาพจิตในระบบราชการยุคใหม่ ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑  พฤษภาคม ๒๕๓๙
๑๒. ได้รับอนุมัติจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้เดินทางไปเจรจาความร่วมมือเกี่ยวกับงานด้านปัญญาอ่อน ด้าน Autistic และทางด้านสุขภาพจิตตามโครงการความร่วมมือระหว่าง สถาบันคาร์ดีฟ และกรมสุขภาพจิต ณ ประเทศสหราชอาณาจักร  วันที่ ๒๘ พฤษภาคม – ๖  มิถุนายน ๒๕๓๙