|
9662Visitors | [0000-00-00]
แพทย์สตรีดีเด่นประจำปี ๒๕๕๖
แพทย์หญิงรัตนา จิรกาลวิศัลย์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ สาขาเวชกรรมป้องกัน
หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
๑. ประวัติส่วนตัวและประวัติครอบครัว สถานที่ติดต่อปัจจุบัน
เกิดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๓ อายุ ๕๓ ปี ภูมิลำเนา ชาวหาดใหญ่ จ.สงขลา
บิดาชื่อ นายตีลั้ง แซ่ลี้ มารดาชื่อ นางจิตรา สันติกาญจน์ เสียชีวิตทั้งคู่แล้ว
มีพี่ชาย ๒ คน พี่สาว ๑ คน เป็นบุตรคนสุดท้อง สถานภาพสมรส โสด
สถานที่ปฏิบัติงาน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม รพ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทรศัพท์ ๐๗๔-๒๗๓๒๓๖
๒. ประวัติการศึกษา (เรียงจากล่าสุดไปอดีต )
พ.ศ. วุฒิปริญญา สาขาวิชา / สถาบัน
๒๕๔๕ อนุมัติบัตรสาขาเวชปฏิบัติครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข
๒๕๔๑ อนุมัติบัตรสาขาเวชปฏิบัติป้องกัน แขนงอาชีวเวชศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
๒๕๓๔ วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชปฏิบัติป้องกัน แขนงระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
๒๕๓๓ สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต (บริหารโรงพยาบาล ) ม. มหิดล
๒๕๒๗ แพทยศาสตร์บัณฑิต ม.สงขลานครินทร์
๒๕๒๐ มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย
๒๕๑๗ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนธิดานุเคราะห์
๓. ประวัติการทำงานอดีต – ปัจจุบัน และ เกียรติประวัติที่ได้รับ (เรียงจากล่าสุดไปอดีต )
ประวัติการทำงานอดีต – ปัจจุบัน
พ.ศ. ตำแหน่ง สถานที่ทำงาน
๒๕๔๖ – ปัจจุบัน หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม รพ. หาดใหญ่ จ.สงขลา
๒๕๓๙-๒๕๔๖ แพทย์ประจำกลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ. หาดใหญ่ จ.สงขลา
๒๕๒๘-๒๕๓๙ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป รพ.ห้วยยอด จ.ตรัง
หน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งปัจจุบัน
- หัวหน้ากลุ่มงานอาชีวเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๔๖
- รองประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๔
- คณะกรรมการทีมนำ ( Lead Team ) พ.ศ. ๒๕๕๔
- คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๔
- กรรมการสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๓๖
เกียรติประวัติที่ได้รับ
๒๑ มี.ค. ๒๕๕๔ คลินิกโรคจากการทำงาน รพ.หาดใหญ่ ได้รับรางวัลดีเด่น ระดับประเทศ
ประจำปี ๒๕๕๓ โดย สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับรางวัล “ ศิษย์เก่าผู้ทำชื่อเสียงให้กับคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ขณะปฏิบัติงานในตำแหน่งนายแพทย์ ๙
(วช.) (ด้านเวชกรรมป้องกัน ) โรงพยาบาลหาดใหญ่
พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับรางวัล “ คนดีมีคุณภาพของกระทรวงสาธารณสุข ของเขต ๑๒
ประจำปี ๒๕๓๘” สาขาวิชาการ ขณะปฏิบัติงานในตำแหน่ง
ผู้ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาเวชกรรมทั่วไป ( นายแพทย์ ๗ )
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัล “ แพทย์ตัวอย่างภาคใต้ ประจำปี ๒๕๓๗ จากคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ขณะปฎิบัติงานในตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม
สาขาเวชกรรมทั่วไป ( นายแพทย์ ๗ ) รพ.ห้วยยอด จ.ตรัง
๔. ผลงานและความภาคภูมิใจ
งานบริหาร และ งานบริการ
- ก่อตั้งกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ พัฒนาและขยายงานอาชีวอนามัยไปในระดับจังหวัด มีคณะทำงานคลินิกโรคจากการทำงานทั้งภาครัฐ คือ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และภาคเอกชน ทำให้มีทั้งผู้บริหาร นักวิชาการ (แพทย์, วิศวกร, นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ) ตัวแทนนายจ้างลูกจ้าง ร่วมวางแผนและดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจุบันคลินิกโรคจากการทำงาน จ.สงขลา มีจำนวน ๔ แห่ง มากที่สุดในประเทศ ( รพ.หาดใหญ่, ม.สงขลานครินทร์, รพ.สงขลา, รพ.จะนะ ) ร่วมในงานวิจัยพัฒนาบริการอาชีวอนามัย หารูปแบบบริการอาชีวอนามัย จ.สงขลาตามบริบทของสถานประกอบการ และ ความเฉพาะของประชากรวัยแรงงานของจังหวัดสงขลา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับภาค ประเทศและนานาชาติ ( นำเสนอเป็นผลงานวิจัย ) และได้เป็นสถาบันสมทบในการผลิตแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันผลิตแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่มีความขาดแคลนสูง ในส่วนภูมิภาคของประเทศ
- ในด้านงานบริการ รพ.หาดใหญ่ ได้รับรางวัล คลินิกโรคจากการทำงานดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๕๓โดย สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยผลงานดีเด่นจากการเป็นโรงพยาบาลที่มีการจัดบริการอาชีวอนามัยทั้งเชิงรุกโดยรายงานการวินิจฉัยโรคจากการทำงานและผลการดำเนินงานสม่ำเสมอ และบริการเชิงรุกโดยสอบสวนโรคจากการทำงาน นำไปสู่การควบคุมป้องกันโรค
- ร่วมพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาล รวมทั้ง Healthy workplace และ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพทั้งผู้รับบริการและบุคลากรโรงพยาบาล สนับสนุนให้มีกลุ่มผู้ป่วย self help group ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มผู้ป่วยและชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่ และจัดทำระบบการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน การสอบสวนโรค ตามความเสี่ยงของบุคลากรโรงพยาบาล ทำให้มีความปลอดภัย และควบคุมและป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานได้เพิ่มขึ้น
- เคยเป็นกรรมการบริหารโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.หาดใหญ่ อดีตรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา และเป็นประธานร่างและพัฒนาหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพแก่นักศึกษาแพทย์ เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกแห่งแรกที่มีหลักสูตรรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะ
งานวิชาการ (เรียงจากล่าสุดไปอดีต )
-R. Jirakalvisan , O. Untimanon, Basic Occupational Health Services (BOHS) model utilizing governmental, academia and private enterprises network in Songkhla province, Southern Thailand. A preliminary result. 30 th International Commission on Occupational Health, Cancun, Mexico, March 18-23, 2012 .
-R. Jirakalvisan, C. Padungtod, Strengthening occupational service in Southeast of Thailand through occupationaol medicine physicians network, 28 th International Commission on Occupational Health, Milan, Italy, June 11-16, 2006.
-R. Jirakalvisan, K. Sinlapapochakul, B. Warchit, New way of teaching and learing Health Promotion and Health Maintenance, AMEE 2004, Edinburgh; 5-8 sep, 2004.
- รัตนา จิรกาลวิศัลย์ และ คณะ การส่งเสริมสุขภาพและความต้องการสนับสนุนด้านสุขภาพของสถานประกอบการจังหวัดสงขลา วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ๒๒:๑ : ๘๕- ๙๒, ๒๕๔๒
-รัตนา จิรกาลวิศัลย์ และ คณะ การเปรียบเทียบผลการตรวจการได้ยินของพนักงานโรงงานผลิตกระป๋อง โดยหน่วยอาชีวเวชกรรมเคลื่อนที่กับคลินิกตรวจการได้ยินโรงพยาบาลหาดใหญ่ วารสารอนามัย ๒๗: ๓: -๗, ๒๕๔๑
-รัตนา จิรกาลวิศัลย์, สุวิมล สนั่นชาติวนิช, สุณี วัฒนโภคา, การประเมินผลคลินิกความดันโลหิตสูง รพ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปีงบประมาณ ๒๕๓๖, วารสารวิชาการเขต ๑๒, ๓ ( ก.ค. – ก.ย. ๒๕๓๗), ๑-๑๑
๕. คติประจำใจในการทำงาน
องค์ประกอบ ๔ ประการ ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข ( อัลแบร์ กามู เขียน สุชาติ สวัสดิ์ศรี แปล )
๑. อยู่ในที่มีอากาศโปร่ง
๒. รักใครสักคนหนึ่ง
๓. พ้นจากความทะเยอทะยาน
๔. ทำงานสร้างสรรค์