โภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
โภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
33308Visitors | [0000-00-00]
โดย http://www.cccthai.org |
|
|
เมื่อครั้งแรกที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง แพทย์จะคุยกับผู้ป่วยและญาติเพื่อวางแผนให้การรักษา ซึ่งอาจจะเป็นการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสี ซึ่งวิธีการรักษามะเร็งเหล่านี้จะฆ่าเซลล์ โดยกระบวนการฆ่าเซลล์มะเร็ง เซลล์ที่ดีจะถูกทำลายด้วย ซึ่งผลข้างเคียงของการรักษามะเร็งที่เกิดขึ้น จะมีผลต่อการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของผู้ป่วย เช่น
|
|
-
ความอยากอาหารลดลง
-
น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไป (อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง)
-
เกิดแผลในช่องปาก
-
ปัญหาเหงือกและฟัน
-
การรับลดและกลิ่นเปลี่ยนไป
-
คลื่นไส้/อาเจียน
-
ท้องเสีย
-
ท้องผูก
-
อาการอ่อนเพลีย อ่อนเปลี้ย หรือซึมเศร้า
|
|
โภชนาการเป็นส่วนสำคัญในการรักษามะเร็ง การรับประทานอาหารที่ดีและครบถ้วนสารอาหารก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและดีขึ้น
ภาวะโภชนาการที่ดี
ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ดีต่อการเจ็บป่วย และดีต่อการรักษา การได้รับสารอาหารของผู้ป่วยมะเร็งส่วนมากจะมาจากการบอกกล่าวต่อกัน แต่การได้รับอาหาร หรือมีภาวะโภชนาการที่ดี แพทย์ พยาบาล และนักกำหนดอาหารจะช่วยการวางแผนในการรับประทานอาหารได้ดีที่สุด การรับประทานอาหารที่ดีขณะที่รับการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ร่างกายมีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ รักษาน้ำหนัก ผลข้างเคียงจากการรักษาลดลง ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูเร็วขึ้น
การรับประทานที่ดี หมายถึงการรับประทานอาหารที่มีความหลากหลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน
|
|
-
|
|
ผู้ป่วยต้องมีการเตรียมตัวในด้านโภชนาการก่อนเริ่มการรักษา เมื่อผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรง จากการรับประทานอาหารพอเพียงและได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน จะช่วยลดปัญหาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการรักษาได้
การเตรียมตัวสำหรับการรักษามะเร็ง
|
|
ตั้งแต่เริ่มต้นการรักษา ผู้ป่วยไม่ทราบแน่นอนว่าจะเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง หรือเกิดภาวะอะไรในช่วงระหว่างการรักษา แนวทางการเตรียมคือ ในช่วงของเวลาที่รับการรักษา จะต้องหายและดีขึ้น โดยวิธีดังนี้ |
|
-
การคิดแต่สิ่งที่ดีในเชิงบวก
-
จะช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงในการรักษา นอกจากนี้การวางแผนที่ดีก่อนการรักษา ช่วยให้สามารถเผชิญปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ดีเช่นเดียวกัน และช่วยในเรื่องของความอยากอาหารด้วย
-
ประชาชนส่วนมากจะรับรู้ถึงผลข้างเคียงของการรักษาที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นทีละน้อย หรือ เกิดมากที่สุดจนจบสิ้นการรักษาแล้ว แต่ในปัจจุบันการรักษาทางการแพทย์สามารถควบคุมผลข้างเคียงเหล่านี้ได้ด้วยยาใหม่ๆ
-
การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพแข็งแรง
-
จะช่วยป้องกันเนื้อเยื่อในร่างกาย จากการถูกทำลายขณะรับการรักษา และช่วยป้องกันการติดเชื้อ
-
การรักษามะเร็งบางชนิดจะได้ผลดีมากถ้าผู้ป่วยได้รับ พลังงาน โปรตีนจากอาหารที่รับประทานอย่างพอเพียง
-
วางแผนในเรื่องอาหาร
-
จัดเตรียมอาหารที่ชอบรับประทานไว้ในตู้เย็น รวมถึงอาหารที่สามารถรับประทานได้เมื่อไม่สบาย
-
ปรุงอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ
-
ให้ญาติช่วยในการปรุงอาหาร หรือการจัดซื้ออาหาร
-
หรือสามารถที่จะปรึกษาแพทย์ พยาบาล นักโภชนากร เพื่อที่จะช่วยในการวางแผนอาหาร
|
|
-
อาหารที่แนะนำในช่วงก่อนการรักษา |
|
-
การรับประทานผักผัก ผลไม้ เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานสะสม
-
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก Whole grain
-
เนื้อสัตว์หรือนมที่มีไขมันต่ำ
-
งดอาหารประเภทไขมันสูง น้ำตาล เหล้า อาหารเค็มจัด
-
นมไขมันต่ำ
-
ไข่ดาว ต้ม ลวก
-
โจ๊กหมูสับ ใส่ไข่
-
ข้าวผัดปูแครอท
-
ซุป ชนิดต่างๆ เช่น ซุปข้าวโพด ฟักทอง เห็ด
-
ผักผัด
-
ผลไม้ เช่น ส้ม ชมพู่ แอปเปิล ฝรั่ง สัปปะรด
-
ลูกเดือย ถั่วเขียวต้ม
-
แซนวิช หรือแครกเกอร์
-
ไอศกรีมเชอเบท
|
|
|
|
การรักษาโดยการผ่าตัด
หลังผ่าตัด ร่างกายจำเป็นต้องการพลังงานและโปรตีน เพื่อการหายของแผล และการฟื้นตัว ดังนั้น อาหารสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด ในช่วง
ระยะแรก |
อาหารเหลวใส เช่น ซุปใส น้ำผลไม้
อาหารเหลวข้น เช่น ซุปเห็ด ซุปข้าวโพด นม |
ระยะที่สอง |
อาหารที่ย่อยง่ายได้แก่ อาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยวน้ำ |
ระยะที่สาม |
อาหารธรรมดา เช่น ขนมปัง ข้าวผัด ข้าวสวย+ ผัดผัก+ แกงจืด ผลไม้ |
การรักษาโดยการฉายแสง
ข้อแนะนำก่อนการฉายแสง
-
ควรรับประทานอาหารก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และไม่ให้ท้องว่าง
-
รับประทานครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
-
รับประทานอาหารรสไม่จัด
การฉายแสงจะเกิดผลข้างเคียงที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ ได้แก่ |
บริเวณของร่างกายที่ได้รับการรักษา |
ผลข้างเคียงที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ |
- สมอง. ไขสันหลัง |
- คลื่นไส้ อาเจียน |
- ลิ้น กล่องเสียง ทอนซิล ต่อมรับรส ช่องจมูก คอ |
- เกิดแผลในปาก กลืนลำบาก การรับรสเปลี่ยน เจ็บคอ ปากแห้ง น้ำลายเหนียว |
- ปอด หลอดอาหาร เต้านม |
- กลืนลำบาก แสบร้อนบริเวณหน้าอก |
- ลำไส้เล็ก ต่อมลูกหมาก ปากมดลูก มดลูก ทวารหนัก ตับอ่อน |
- ความอยากอาหารลดลง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย |
อาหารที่แนะนำเมื่อได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสี
-
รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
-
รับประทานอาหารรสไม่จัด
-
กรณีกลืนอาหารลำบากรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปข้น
-
ขนมหวาน เช่น กล้วยบวดชี เผือกต้มน้ำตาล ถั่วเขียวต้มน้ำตาล
-
แครกเกอร์
-
ผลไม้ หรือน้ำผลไม้
-
กรณีที่น้ำลายเหนียว แนะนำให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือก่อนรับประทานอาหาร จะช่วยให้การรับประทานอาหารดีขึ้น
-
กรณีที่มีอาการปวดแสบ ท้องเสีย หรือคลื่นไส้ อย่างมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และควรงดอาหารที่มีกากใยสูงในช่วงแรกที่มีอาการท้องเสีย
การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
ผลข้างเคียงของการให้ยาเคมีบำบัด ที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ และระบบการย่อย ได้แก่
-
ความอยากอาหารลดลง
-
การรับรส และกลิ่นอาหารเปลี่ยนไป
-
เกิดแผลในช่องปาก
-
คลื่นไส้ / อาเจียน
-
น้ำหนักเปลี่ยนแปลง
-
อาการอ่อนเพลีย
-
การติดเชื้อ จากเม็ดเลือดขาวต่ำ
อาหารที่แนะนำเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
-
อาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนสูงในช่วงระหว่างการให้ยา เช่น ซุปใสมันฝรั่ง โจ๊กหมูใส่ไข่ นม เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ธัญพืชชนิดต่างๆ เช่นขนมปังโอลวีท หรือขนมปังโฮลเกรนทาแยมผลไม้
-
ผักลวก ผัดผัก
-
สลัดไก่ + ไข่ น้ำแอปเปิล (ผักที่นำมาปรุง ต้องล้างผ่านน้ำก๊อกนานๆ อย่างน้อย 2-3 นาที
-
ผลไม้สดที่ผ่านการล้าง
-
อาหารที่ปรุงร้อนๆ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
-
เนื้อย่างสุกๆดิบๆ ปลาที่มีกลิ่นคาว ไส้กรอกชนิดต่างๆ เบคอน
-
เนื้อปลารมควัน
-
ชีส เนย โยเกริต มายองเนส
-
ผัก ผลไม้สดที่ไม่ได้ล้าง
-
เมล็ดถั่วที่มีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นาน
-
นมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ
-
อาหารที่มีกลิ่นเครื่องเทศฉุนมากๆ
อาหารแนะนำเมื่อเกิดผลข้างเคียงจากการให้ยา
-
การรับรสและกลิ่นอาหารเปลี่ยน สามารถที่จะใช้สมุนไพร น้ำมะนาว มิ้น ช่วยในการรับรส การรับประทานผลไม้แช่เย็น ดื่มน้ำผลไม้เช่น น้ำมะนาวโซดา น้ำสตอเบอรีมะนาวปั่น
-
ความอยากอาหารลดลง รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และต้องให้พลังงานและโปรตีนสูง เช่น นมอุ่นๆ ซุปเห็ดข้น ขนมปังผสมธัญพืชทาแยมผลไม้ หรือเนยถั่ว โจ๊กหมูสับใสไข่ มันฝรั่งอบ ถั่วเขียว หรือลูกเดือยต้มน้ำตาล ไอศกรีมเชอเบท
ท้องผูก รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังผสมธัญพืช ผลไม้สด เช่น กล้วยน้ำว้า แอปเปิล ส้ม ผลไม้แห้ง เช่นลูกพรุนแห้ง สลัดผลไม้น้ำใส ดื่มน้ำมากๆ หรือน้ำผลไม้
-
ท้องเสีย ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยสูง และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่นอาหารทอดต่างๆ ดื่มน้ำหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เกลือแร่ ซุปเห็ดข้น แครกเกอร์ ดื่มน้ำหรืออาหารที่มีโปรแตสเซียมสูง เช่น น้ำเกลือแร่ มันฝรั่งอบ กล้วยหอม รับประทานผักที่มีกากใยอาหารต่ำ เช่น หน่อไม้ฝรั่งผัด มันฝรั่งอบ หรือซุปมันฝรั่ง เมื่ออาการดีขึ้น ค่อยๆเริ่มรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร
-
แผลในปาก หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด เช่นปลาเค็ม เนื้อเค็ม หรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว น้ำส้ม อาหารแนะนำ อาหารอ่อน เช่นโจ๊กหมูสับใส่ไข่ มักกะโรนี นม ซุปฟักทอง ซีเรียลใส่นมเย็น ผักต้มสุก น้ำผลไม้ที่ไม่เปรี้ยว เช่น น้ำแอปเปิล ชา ไอศกรีมเชอเบท
-
คลื่นไส้ อาเจียน แนะนำให้รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เช่น แบ่งมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุน อาหารที่มีรสหวานจัด อาหารทอดมันๆ รับประทานอาหารที่เย็นแทนอาหารร้อน หรือเผ็ดจัด อาหารแห้งๆ เช่น แครกเกอร์ ขนมปังปิ้ง อาหารแนะนำ เช่น ข้าวสวยต้ม นมไขมันต่ำ โจ๊กหมูสับใส่ไข่อุ่นๆ แครกเกอร์ ขนมปังปิ้ง มันฝรั่งอบ น้ำผลไม้เย็นๆ ไอศกรีมเชอเบท
-
เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ อาหารแนะนำอาหารที่มีแบคทีเรียต่ำ โดยก่อนการเตรียม หรือปรุงอาหาร ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง และภาชนะที่ใช้ต้องสะอาด อาหารที่เตรียม เช่น ผักสด แช่น้ำและล้างผ่านน้ำอย่างน้อย 2- 3 นาที การปรุงอาหารปรุงให้สุก
|
|
|
|
อาหารแนะนำ ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิดเท่าที่สามารถรับประทานได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารเค็มจัด เนื้อสัตว์ปิ้ง ย่าง
|
|