Clinic ตรวจเบื้องต้น ..สมาคมแพทย์สตรีฯ

เช็ก 6 ความเชื่อผิดๆ ที่ทำให้เป็น "มะเร็งเต้านม" เช็ก 6 ความเชื่อผิดๆ ที่ทำให้เป็น "มะเร็งเต้านม"
12951Visitors | [2020-02-06] 

เช็ก 6 ความเชื่อผิดๆ ที่ทำให้เป็น "มะเร็งเต้านม" 

จาก : https://www.wongnai.com/articles/namarak-hospital

มะเร็งเต้านมไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับผู้หญิงอย่างเรา จะดีกว่าไหมถ้าเรารู้ทันและสามารถเช็กความเสี่ยงได้ 

ถ้าพูดถึงมะเร็งเต้านมเชื่อว่าผู้หญิงหลายคนคงจะได้ยินกันมานานแล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่มองว่ามะเร็งเต้านมเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก ๆ เพราะปัจจุบันมะเร็งเต้านมยังคงเป็นมะเร็งร้ายอันดับหนึ่งที่พบในผู้หญิงทั่วโลก จากสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่ามีผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ 20,000 คนต่อปี หรือ 55 คนต่อวัน โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 35 ขึ้นไป ลักษณะอาการเป็นเหมือนมะเร็งทุกชนิดที่ไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ ให้เรารู้สึก จนกว่าอาการจะพัฒนาไปถึงขั้นแพร่กระจายสู่ระบบอื่น ๆ
 
สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมที่คนส่วนใหญ่ทราบกันดี เช่น ประวัติทางพันธุกรรมหากคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็จะเสี่ยงเป็นเช่นกัน ความเสื่อมของร่างกายตามอายุ ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือ ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศผิดปกติ ทำให้เซลล์ต่อมน้ำนมมีความหนาแน่นมากกว่าปกติ และอีกหลากหลายสาเหตุ แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดที่หลาย ๆ คนคิดว่าคือสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน ดังนี้
 

6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

1. ถ้าคนในครอบครัวไม่เป็นมะเร็งเต้านม เราก็จะไม่เป็น
 
 
สาเหตุหลักที่คนส่วนใหญ่ทราบกันดีคือ หากคนในครอบครัวเรามีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม ก็จะส่งผลต่อคนในพันธุกรรมเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วการส่งต่อทางพันธุกรรมส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านมเพียง 10% เท่านั้น เพราะปัจจุบันมะเร็งเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้เองมากกว่าค่ะ
 
 
2. ผู้หญิงอ้วนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงผอม
 
 
 
ในความเป็นจริงความอ้วนไม่ใช่ปัจจัยหลักเท่านั้น แต่เป็นการทานอาหารที่มีไขมันสูงที่จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น เมื่อมีไขมันสะสมในร่างกายมาก ๆ ก็จะเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศและอาจจะส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นได้ค่ะ
 
 
3. ใส่ชุดชั้นในนอนทุกวัน เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
 
 
 
เชื่อว่าข้อนี้ผู้หญิงหลายคนคงเคยได้ยินมาแน่นอน เพราะเคยมีการให้ข้อมูลว่าหากสาว ๆ ใส่ชุดชั้นในนอนหลับเป็นประจำจะทำให้ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนได้ยาก และส่งผลให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่จริง ๆ แล้วก็ยังไม่มีผลการวิจัยใด ๆ ออกมายืนยันว่าการสวมชุดชั้นในนอนจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้
 
4. ผู้หญิงหน้าอกใหญ่มีโอกาสเสี่ยงสูงกว่า
 
 
เรื่องของขนาดเต้านมไม่ได้มีผลต่อการเกิดมะเร็ง ขนาดหน้าอกที่ใหญ่อาจจะมาจากเนื้อไขมันซึ่งไม่ได้เป็นส่วนของเนื้อเต้านม ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่มีขนาดหน้าอกใหญ่ หรือหน้าอกเล็กก็สามารถมีโอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมได้เท่า ๆ กัน
 
 
5. ซิลิโคนเสริมหน้าอกเป็นสาเหตุของมะเร็งเต้านม
 
 
ซิลิโคนที่ใช้สำหรับเสริมหน้าอกไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด และซิลิโคนเสริมหน้าอกในปัจจุบันก็เป็นวัสดุที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้ในการแพทย์เท่านั้น และนอกจากนี้ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมเมื่อรักษาหายแล้วก็สามารถเสริมหน้าอกได้เช่นกันอีกด้วย
 
 
6. ถั่วเหลืองเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
 
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคุณสมบัติของถั่วเหลืองว่าเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่จริง ๆ ถั่วเหลืองก็สามารถลดความเสี่ยงได้เช่นกัน  โดย รศ.พญ.เยาวนุช คงด่าน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนมะรักษ์  ได้แนะนำว่า การกินถั่วเหลืองไม่ได้เป็นข้อห้ามหรือเพิ่มความเสี่ยง สามารถกินได้ โดยให้ปฏิบัติดังนี้
 
1. ถั่วเหลืองสามารถที่จะกินได้ทั้งคนทั่วไปและผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป
 
2. การกินถั่วเหลืองวันละ 1-2 หน่วยบริโภคอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม
 
3. ควรกินถั่วเหลืองที่ได้จากอาหารทั่วไป ไม่ควรกินในรูปแบบอาหารเสริม หรือถั่วเหลืองสกัด เพราะจะมีปริมาณที่เข้มข้นมากเกินไป
 
4. ในกลุ่มที่เป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมนเป็นบวก ในช่วงที่อยู่ในระหว่างการรักษาตัวเช่นก่อนผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงการกินถั่วเหลืองในปริมาณสูง
 
ถึงแม้เราจะยังไม่มีอาการ หรือยังไม่เข้าข่ายกับสาเหตุและปัจจัยหลัก ๆ แต่การตรวจเช็กเบื้องต้นเราก็สามารถทำได้เพื่อตรวจดูความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น 
6 ข้อสังเกตเต้านมผิดปกติ
1.คลำพบก้อนเนื้อแข็งเป็นไตในเต้านม
2.ผิวหนังของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่เรียบสนิท มีรอยบุ๋ม รั้งตัว หดตัว
3.หัวนมหดตัวเล็กลง หรือมีผื่นแดงรอบหัวนม มีอาการคันโดยไม่มีสาเหตุ
4.ขนาดและรูปร่างเต้านมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนสังเกตเห็น
5.มีความเจ็บปวดบริเวณเต้านมโดยไม่มีสาเหตุ ในขณะที่ไม่ใช่เวลามีประจำเดือน
6.ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้บวมโต โดยเฉพาะรักแร้ข้างเดียวกับที่ตรวจพบก้อนเนื้อในเต้านม
 
เมื่อเราตรวจสอบด้วยตัวเองในเบื้องต้นแล้วนั้น หากยังไม่มั่นใจ หรือมีข้อสงสัยกับอาการที่เกิดขึ้น ทางที่ดีคือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการที่ชัดเจนและแน่นอน วันนี้ Wongnai Beauty จะพาไปชมแลนด์มาร์คใหม่เพื่อสุขภาพเต้านมของผู้หญิงโดยเฉพาะค่ะ นั่นคือ โรงพยาบาลนมะรักษ์ โรงพยาบาลเฉพาะทางเต้านมแห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถดูแลเต้านมได้ครบวงจร ตั้งแต่ตรวจคัดกรองและการรักษา ไปจนถึงการผ่าตัด ที่มีเทคโนโลยีแบบทันสมัย ด้วยการตรวจ Ultrasound แบบนอนคว่ำที่แรกของไทย
 
 
 
นอกจากนี้ยังเป็นโรงพยาบาลที่มีห้องผ่าตัดมาตรฐานโลกจากอิตาลี ซึ่งมีไม่กี่ที่ในเมืองไทยและเป็นศูนย์รวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุขภาพเต้านม นำทีมโดย รศ. พญ. เยาวนุช คงด่าน อุปนายกสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทยและอดีตหัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
 
เพราะการเช็กด้วยตัวเองเป็นการเช็กเบื้องต้นเท่านั้น แต่หากเราได้รับคำปรึกษาและการดูแลอย่างถูกวิธีจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญก็จะทำให้เรารู้เท่าทันและลดความเสี่ยงลงไปได้อีก ซึ่งสาว ๆ สามารถเข้าไปติดต่อเข้ารับปรึกษาเรื่องสุขภาพได้ โรงพยาบาลนมะรักษ์ แล้ววันนี้หรือโทรนัดหมายล่วงหน้าได้ที่เบอร์ 095 875 9518 และ 095 808 9518 ค่ะ